วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

9 มีนาคม 2559

   วันนี้ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง วันนี้ได้มาคุมสอบนักศึกษาที่มาสอบ E-Exam มีนักศึกษาที่มาจากจังหวัดพะเยาและนักศึกษากศน.อำเภอแจ้ห่ม จำนวน 40 คน

8 มีนาคม 2559

  วันนี้ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง วันนี้ได้มาคุมสอบนักศึกษาที่มาสอบ E-Exam มีนักศึกษาที่มาจากจังหวัดพะเยาและนักศึกษา จำนวน 34 คน

7 มีนาคม 2559

ร่วมประชุมอบรมแก้ไขแผนปฏิบัติการประจำปีขึ้นระบบ โดยวิทยากรครูกศน.ตำบลเสด็จ นายทรรศพล คำฟูบุตร
นายทรนง ใจจืด ครูกศน.ตำบลบุญนาคพัฒนา  และน.ส.สุมลมาลย์ ก้าวกสิกรรม ครูอาสาสมัครฯ พร้อมครูกศน.ตำบล เจ้าหน้าที่ห้องสมุด และคณะข้าราชการ โดยการนำของอาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตร  หัวหน้ากลุ่มจัดการศึกษาฯ  อ.สุพรรณี วงค์แสน หัวหน้ากลุ่มภาคีเครือข่าย  อ.นาตยา ทุนกุล หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ และ
 อ.จิตราภรณ์ เทวะนา บรรณารักษ์ห้องสมุดจังหวัดลำปาง

4 มีนาคม 2559

วันนี้ได้เข้ามาปฏิบัติงานที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง ในช่วงเช้าได้ช่วยกันจัดพิมพ์คู่มือตัวบ่งชี้ของแต่ละคนและจัดเอกสารที่ยังไม่ครบช่วยกันจัดหา
     ในช่วงบ่ายมาตรฐาน 2 ได้ส่งตัวแทนนำเสนอความก้าวหน้าการทำงานของมาตรฐานว่าจัดเอกสารไปถึงไหนแล้วให้ท่าน ผอ.รับทราบ มาตรฐาน 2 ได้จัดเตรียมเอกสารเกือบครบทุกตัวบ่งชี้และจัดทำคู่มือการดำเนินได้ 2 ตัวบ่งชี้

3 มีนาคม 2559

วันนี้ได้เข้ามาปฏิบัติงาน กศน.อำเภอเมืองลำปาง ได้ค้นหาเอกสารการประกันคุณภาพภายในเพิ่มเติม ร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่มที่ได้รับผิดชอบในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเตรียมนำเสนอความก้าวหน้าในการเตรียมเอกสารให้กับท่าน ผอ. รับทราบในวันพรุ่งนี้
      ในช่วงจัดข้อสอบวิชาเลือกปลายภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2559

2 มีนาคม 2559

วันนี้ได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง โดยได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ ระยะเวลาในการประชุม ระหว่างวันที่ 2-4 มีนาคม 2559  ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง  โดยมีรายละเอียดดังนี้
            เปิดการประชุม โดย ท่านผอ.ดร.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้ ให้บุคลากรทุกท่านตระหนักในการรับการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ ปลายเดือนมีนาคมนี้ จึงขอให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการรายงานความคืบหน้า ในแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ และมอบหมายให้อาจารย์สุมลมาลย์  ก้าวกสิกรรมดำเนินการต่อในการประชุม ซึ่งอาจารย์สุมลมาลย์  ได้รายงานผลการประเมินภายในสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ในปีที่ผ่านมา คะแนนที่ได้ และสรุปรายงานของคณะกรรมการประเมินในแต่ละมาตรฐานตัวบ่งชี้ 
         จากนั้น ผู้ที่ได้รับมอบหมายตาม มาตรฐานที่ 1-6 ได้ออกนำเสนอความก้าวหน้าในการเตรียมเอกสารหลักฐาน
          ช่วงบ่าย คณะทำงานตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ดำเนินการจัดเตรียมเอกสารของแต่ละมาตรฐาน

16 มีนาคม 2559

อบรมทวิศึกษา รับชมผ่านรายการ ETV. ครั้งที่ 4 
เรื่อง แนวทางการดำเนินงานการจัการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ 
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศึกราช  2551 (ปรับปรุง 2559)

นายสุรพงษ์  จำจด  เลขาธิการ กศน.  เป็นผู้ดำเนินรายงาน โดยมีเนื้อหารายละเอียด ดังนี้
     3 ประเด็นหลัก  ในการปรับวิธีการเรียนการสอนการศึกษาขั้นฐาน
1.ทำไมถึงต้องมีการปรับการเรียน
2.ปรับแล้วทำอย่างไร
3.ทำเมื่อไหร่
  ทำไมต้องทำ จะเห็นว่าในปัจจุบันเรายิ่งจัดการศึกษาเรื่อยๆ คนก็เคลื่อนย้ายจากชุมชนชนบทเข้าสู่ในเมืองมากขึ้น แปลว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับการจัดการศึกษา ซึ่งหมายถึงเราไม่ได้จัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 
       ในการจัดการของกศน.มีวิชาบังคับการวิชาเลือก  พบว่าวิชาเลือกเยอะเกินไป การจัดการยาก ทำให้มีปัญหาสะสม ทำให้ต้องเร่งการจัดการศึกษาใหม่ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งด้วย
       ในการที่จะปรับ หลักคิด 1 หลักสุตรไม่มีปัญหา  แต่การนำหลักสูตรไปใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากกว่า  เนื้อหลักสูตรแบ่งเป็นวิชาบังคับ และวิชาเลือก แต่เราอาจนำไปใช้ไม่ถูก  หลักสุตรดี แต่จะนำหลักสูตรมาใช้อย่างไร วิชาบังคับไม่ค่อยมีปัญหา ทางผู้รับผิดชอบจากส่วนกลาง  วิชาเลือกจากสถานศึกษาเอง ทำให้เปิดวิชาเลือกอย่างหลากหลาย  
       วิธีการปรับวิชาเลือก ใช้ชุมชนเป็นฐาน และผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้สถานศึกษากำหนดแผนการเรียนให้สอดคล้องกับแผนจุลภาค ชุมชน  
1. วิชาที่เปิดสามารถเทียบโอนได้ 
ส่วนกลาง จะปรับในรายวิชาบังคับ ที่ผู้เรียนต้องรู้ในรายวิชาบังคับ ขัอสอบเอ็นเน็ต ต้องออกข้อสอบที่ต้องรู้ เรียนอย่างไรออกสอบอย่างนั้น

อ.ศุทธินี  งามเขตต์
      การใช้หลักสูตร กศน. 2551 และคู่มือการดำเนินงาน ยังใช้แบบเดิม
เรื่องการปรับ โครงสร้างหลักสูตร เหมือนเดิม  วิชาเลือกบังคับ ส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดซึ่งเป็นวิชา วิกฤตของประเทศ เช่น วิชาพลังงานไฟฟ้า  ให้เรียนเหมือนกันทั้งประเทศ  วิชาเลือกเสรี ให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนด ให้สอดคล้องกับชุมชน ระหว่างครูกับนักศึกษา เป็นผู้ร่วมกำหนด  ส่วนวิชาบังคับส่วนกลางเป็นผู้กำหนด
        ITEM SPEC สเป็คข้อสอบเป็นรายข้อ   ให้มีการออกสอบบวกลบไม่เกินสองหลัก  ผังข้อสอบจะบอกว่าความรู้ความจำออกกี่ข้อ   
       มีการเทียบโอนอาชีพ ทางกองพัฒนาฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถานศึกษา 
       การเทียบโอน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จะกำหนดเกณฑ์ให้สถานศึกษา 
       คุณภาพสื่อวิชาเลือก ทางสถานศึกษา ให้ทาง กศน.จังหวัด เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ
       การวัดผลประเมินผล  สถานศึกษาเป็นผู้วัดผลประเมินผลกำหนดเกณฑ์ โดยให้ข้อสอบ บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ 

ผอ.นรา เหล่าวิชยา
     สำนักงานกศน.จังหวัด  จะต้องมาช่วยในเรื่องของการจัดทำหลักสูตรวิชาเลือก 
     การพัฒนาบุคลากร ของกศน.อำเภอ ในเรื่องของ การแนะแนว