ตอนที่ 1ข้อมูลทั่วไป
1.
ข้อมูลเบื้องต้นของสถานศึกษา
1.1
ชื่อหน่วยงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง
สังกัด
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง
สถานที่ตั้ง หมู่บ้านเขลางค์ทอง หมู่ที่ 12 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง 52100
โทรศัพท์
054-217117 โทรสาร 054- 221837
E-mail:narawan62@gmail.com
ข้อมูลห้องเรียนสีขาว เปิดสอนระดับการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) จำนวน 20 กลุ่ม ดำเนินกิจกรรมห้องเรียนสีขาว 20 แห่ง จำนวนนักศึกษาแกนนำ
4 ฝ่าย มี 133 คน
จำนวนนักศึกษา 1,228 คน จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบ
25 คน
บริบทสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง
เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) งานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
งานการศึกษาตามอัธยาศัย ให้แก่กลุ่มเป้าหมายประชากรวัยแรงงาน
ผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา ทหารกองประจำการ ผู้ต้องขังเรือนจำกลางลำปาง
เด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ ผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอเมืองลำปางทั้งหมด 19 ตำบล ประกอบไปด้วย กศน.ตำบลนิคมพัฒนา กศน.ตำบลทุ่งฝาย กศน.ตำบลต้นธงชัย
กศน.ตำบลเวียงเหนือ กศน.ตำบลหัวเวียง กศน.ตำบลสบตุ๋ย กศน.ตำบลบ้านแลง
กศน.ตำบลบุญนาค กศน.ตำบลบ้านเสด็จ กศน.ตำบลพิชัย กศน.ตำบลพระบาท กศน.ตำบลกล้วยแพะ
กศน.ตำบลสวนดอก กศน.ตำบลชมพู กศน.ตำบล ปงแสนทอง
กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว กศน.ตำบลบ้านเป้า กศน.ตำบลบ้านเอื้อม กศน.ตำบลบ้านค่า และ ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคเหนือ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ได้ดำเนินงานตามโยบายของรัฐบาลในเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
โดย“ กำหนดกลยุทธที่สำคัญที่จะดำเนินการ คือ 5 มาตรการ
ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด คือ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา
มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ ภายใต้กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่เพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
และเป็นการยืนยันในเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดในอำเภอเมืองลำปาง ในส่วนข้อมูลที่ทำให้สถานศึกษาต้องตื่นตัวรณรงค์เนื่องจากสถิติของจังหวัดลำปางผู้ค้าในรายย่อยกลายเป็นนักเรียน
และนักศึกษาที่อยู่ในช่วงอายุ 10 – 22
ปี เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่ 3 ของจังหวัดลำปาง และประเทศ คือ
การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันภัยยาเสพติด (Potential Demand)
และกำหนดเป้าหมายดำเนินงานให้สถานศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา
สถานศึกษาเอกชน สถาบันอุดมศึกษา เป็นเป้าหมายการเฝ้าระวัง
และลดปัญหาเสี่ยงที่เป็นเหตุแห่งปัญหายาเสพติด
1.2 ข้อมูลผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ
ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา ดร.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ โทรศัพท์(มือถือ) 097-9235487
E-mail:narawan62@gmail.com
ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิรุณ
รัตนงามวงค์ โทรศัพท์(มือถือ) 089-5555282
ตอนที่ 2 ข้อมูลด้านการปฏิบัติงาน
บทที่ 1 บทนำ
รัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา
กำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข
ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
จึงได้กำหนดนโยบายให้ผู้บริหารองค์กรหลัก หน่วยงานและสถานศึกษาดาเนินการ ดังนี้
1. ผู้บริหารทุกระดับนำนโยบายการปูองกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปสู่การปฏิบัติ
จัดทำแผนปฏิบัติการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษา
2. ผู้บริหารทุกระดับ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
ต้องให้ความสำคัญและมีจิตสานึกร่วมกัน ที่จะปกป้องคุ้มครอง ดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นักศึกษา ไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ให้ความร่วมมือและร่วมแรงร่วมใจจัดกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. ผู้บริหารสถานศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนจัดกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน การสอน เช่น กิจกรรม TO BE NUMBER ONE กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ต่าง ๆ ค่ายคุณธรรม
กิจกรรมลูกเสือและเนตรนารีป้องกันยาเสพติด กิจกรรมกีฬาป้องกันยาเสพติด
ส่งเสริมการรวมกลุ่มของนักเรียน นักศึกษา ทั้งในส่วนของชมรมและสภานักเรียน
4. ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนให้ความรู้ เสริมสร้างจิตสำนึก
ทักษะชีวิต ภูมิคุ้มกันต่อต้านยาเสพติด และอบายมุข จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นักศึกษาทุกคนให้ทั่วถึงโดยสร้างเครือข่ายแกนนำทุกระดับในสถานศึกษา
5. ผู้บริหารสถานศึกษาจัดระบบการดำเนินงาน 5 มาตรการ
ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด คือ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา
มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ ภายใต้กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ ที่กำหนดให้สถานศึกษาต้องมียุทธศาสตร์
ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย ไม่ปกปิดข้อมูล และไม่ไล่ออก
6. ผู้บริหารทุกระดับ อำนวยการ กำกับ
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและจัดมาตรการเสริมแรงให้แก่ผู้รับผิดชอบด้านยาเสพติดดีเด่น
ด้วยการยกย่องชมเชย มอบโล่ เกียรติบัตร เลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ
มาตรการลงโทษบุคลากรที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ให้ออกจากราชการและเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพครู
บทที่
2
สถานการณ์ปัญหายาเสพติด (อ้างอิงจาก
ศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดลำปาง)
ตามที่รัฐบาลนำโดย พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ได้เข้ามาบริหารประเทศ และเล็งเห็นปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญ และจำเป็นต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนจึงได้ประกาศแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ปี 2558 (ตุลาคม 2557 –
กันยายน 2558)
โดยมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และ เจตนารมณ์ที่จะลดระดับปัญหายาเสพติด
และปัญหาที่เกี่ยวเนื่อง กับยาเสพติดให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความสงบสุขของประชาชน
และสังคมโดยส่วนรวม สำนักงานสถิติแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงได้ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์
การแพร่ระบาดยาเสพติด ตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจมาแล้ว 1 ครั้ง ในเดือน
มีนาคม 2558 และครั้งนี้ในเดือนสิงหาคม
2558 เป็นการสำรวจภายหลังการดำเนินงานตามแผน
ปฏิบัติการฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม ประเมินผล และวางแผนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพต่อไป
สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติด ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ประชาชนร้อยละ 53.5 ระบุว่าชุมชน/หมู่บ้านไม่มีปัญหายาเสพติด
ขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุว่ามีปัญหา ซึ่งในจำนวนนี้เห็นว่าปัญหาที่มีแพร่ระบาด อยู่ในระดับมาก
– มากที่สุด (ร้อยละ 5.9) และปานกลาง (ร้อยละ 13.8) ส่วนน้อย ถึง น้อยที่สุดมีร้อยละ
26.8ในชุมชน/หมู่บ้าน
ประชาชนเห็นว่ามีการแพร่ระบาดยาเสพติด ดังนี้
1. ด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด
1.1 ความรุนแรงของปัญหา ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.3 ระบุว่าชุมชน/หมู่บ้านไม่มีปัญหา
ด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด ขณะที่ร้อยละ 22.7 ระบุว่ามีปัญหา ซึ่งในจำนวนนี้เห็นว่าปัญหาที่มีอยู่ในระดับมาก
ถึงมากที่สุด (ร้อยละ 2.8) และปานกลาง (ร้อยละ 7.1) ส่วนน้อยถึงน้อยที่สุดมีร้อยละ 12.8 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ป.ป.ส.
พบว่า ประชาชนในภาค 9 ร้อยละ 6.7 ระบุว่ามีปัญหาด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติดอยู่ใน
ระดับมากถึงมากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น
รองลงมาได้แก่ ภาค 7 (ร้อยละ 4.2) ภาค 4 (ร้อยละ 3.8) และภาค 1 (ร้อยละ
3.0) ขณะที่ภาคอื่นมีน้อยกว่าร้อยละ
3
1.2 การได้รับความเดือดร้อน ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ในชุมชน/ หมู่บ้านที่มีปัญหาด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด ประชาชน ร้อยละ 52.5 ระบุว่าไม่ได้รับความเดือดร้อนจากผู้ค้า/ผู้ลักลอบ
ค้ายาเสพติด ขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุว่าได้รับความเดือดร้อน (ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับฯ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ
10.1 ปานกลางร้อยละ 19.1 และน้อยถึงน้อยที่สุดร้อยละ 18.3)
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ป.ป.ส. พบว่า ประชาชนในภาค 9 ร้อยละ 17.8 ระบุว่าได้รับความเดือดร้อนอยู่ในระดับมากถึง
มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น
รองลงมาได้แก่ ภาค 7 (ร้อยละ 14.4) ภาค 4 (ร้อยละ 12.0) ภาค 1 (ร้อยละ
10.7) และภาค 2
(ร้อยละ 10.4) ขณะที่ภาคอื่นมีน้อยกว่าร้อยละ 10
1.3 เรื่องที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
ในชุมชน/หมู่บ้านที่มีปัญหาด้านผู้ค้า/ผู้ลักลอบค้า ยาเสพติด พบว่า
ประชาชนร้อยละ 62.8 ระบุว่าได้รับความเดือดร้อน
ในเรื่องการลักทรัพย์/ปล้นทรัพย์/ชิงทรัพย์มากกว่าเรื่องอื่น รองลงมาได้แก่
การทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 25.6) แก็งค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง (ร้อยละ 25.1) และผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ 16.9) เป็นต้น
2. ด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
2.1 ความรุนแรงของปัญหา ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ประชาชน ร้อยละ 55.9
ระบุว่าในชุมชน/หมู่บ้านไม่มีปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติด ยาเสพติด
ขณะที่มีร้อยละ 44.1 ระบุว่ามีปัญหา ซึ่งในจำนวนนี้
เห็นว่าปัญหาที่มีอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (ร้อยละ 4.9) และ ปานกลาง (ร้อยละ 12.2) ส่วนน้อยถึงน้อยที่สุดมีร้อยละ
27.0
2.2 การได้รับความเดือดร้อน ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม
2558 พบว่า ในชุมชน/ หมู่บ้านที่มีปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
ประชาชนร้อยละ 58.8 ระบุว่าไม่ได้รับความเดือดร้อนจากผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุว่าได้รับความเดือดร้อน
(ซึ่งในจำนวนนี้ ได้รับฯ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 7.1 ปานกลางร้อยละ 14.9 และน้อยถึงน้อยที่สุดร้อยละ 19.2)
2.3 เรื่องที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
ในชุมชน/หมู่บ้านที่มีปัญหาด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด พบว่า ประชาชนร้อยละ 74.3 ระบุว่าได้รับความเดือดร้อน
ในเรื่องการลักทรัพย์/ปล้นทรัพย์/ชิงทรัพย์มากกว่าเรื่องอื่น รองลงมาได้แก่ แก็งค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง (ร้อยละ
26.4) และการ ทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 23.6) เป็นต้น
3. โรงเรียน/สถานศึกษา และบริเวณรอบๆ
3.1 ความรุนแรงของปัญหา ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม
2558 พบว่า ในชุมชน/ หมู่บ้านที่มีโรงเรียน/สถานศึกษา ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.0 ระบุว่าไม่มีปัญหายาเสพติด ขณะที่ร้อยละ 17.0 ระบุว่ามีปัญหา ซึ่งในจำนวนนี้เห็นว่าปัญหาที่มีแพร่ระบาดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
(ร้อยละ 1.0) ปานกลาง (ร้อยละ 3.6)
และน้อยถึงน้อยที่สุด (ร้อยละ 12.4)
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ป.ป.ส. พบว่า ประชาชน ในกรุงเทพมหานคร และภาค 9
(ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 2.1)
ระบุว่าปัญหายาเสพติดมีการแพร่ระบาดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น รองลงมาได้แก่
ภาค 7 (ร้อยละ 1.3) ภาค 8 (ร้อยละ 1.1)
และภาค 5 (ร้อยละ 1.0) ขณะที่ภาคอื่น
มีน้อยกว่าร้อยละ 1
3.2 การจัดกิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวัง
และแก้ไข ปัญหายาเสพติดในโรงเรียน/สถานศึกษา ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า
ในชุมชน/ หมู่บ้านที่มีโรงเรียน/สถานศึกษา ประชาชนร้อยละ 83.3 ระบุว่า
มีการจัดกิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับนักเรียน/นักศึกษา
(ซึ่งในจำนวนนี้เห็นว่ามีการจัดกิจกรรมฯ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ
41.9 ปานกลางร้อยละ 32.9 และน้อยถึง
น้อยที่สุด (ร้อยละ 8.5) มีเพียงร้อยละ 3.7 ที่ระบุว่าไม่มี ขณะที่ร้อยละ 13.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ป.ป.ส. พบว่า
ประชาชนในภาค 6 ร้อยละ 50.9 ระบุว่ามีการจัดกิจกรรมฯ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น รองลงมา ได้แก่ ภาค 5 (ร้อยละ
48.5) ภาค 4 (ร้อยละ 47.5) และภาค 3 (ร้อยละ 46.9) ขณะที่ภาคอื่นมีน้อยกว่าร้อยละ 46
4. ประเภทของยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาด ในชุมชน/หมู่บ้านที่มีปัญหายาเสพติด
ประชาชนร้อยละ 75.54 ระบุว่ายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด ได้แก่ ยาบ้า น้ำกระท่อม (ร้อยละ 14.3) เฮโรอีน (ร้อยละ12.5) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค ป.ป.ส. พบว่า
ปัญหายาเสพติด ประชาชนระบุว่ายาบ้า มีการ
ในทุกภาค ยกเว้น ภาค 8 และภาค 9 คือ ยาบ้า น้ำกระท่อม ยาเสพติดประเภทอื่น
5. แหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด/เสพยาเสพติด
ในชุมชน/หมู่บ้านที่มีปัญหายาเสพติด ประชาชนร้อยละ 42.5 ระบุว่ามีแหล่งมั่วสุมค้ายาเสพติด/เสพยาเสพติด
เห็นว่าแหล่งมั่วสุมฯ ที่มีอยู่มากที่สุด คือ คอนโดหอพัก (ร้อยละ48.1) รองลงมาได้แก่ สถานที่ปลอดคน เช่น บ้านร้าง ป่าเขา (ร้อยละ42.5)
จากนั้นทำเรื่องตรวจสอบวุฒิการศึกษา และลงข้อมูลคะแนนสมุดประเมินผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของกศน.ตำบลต้นธงชัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น