วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ข้อมูลมาตรฐาน 2 วันที่ 29 กันยายน 2558

ส่งข้อมูลรายงานการปฏิบัติงาน แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ และส่งข้อมูลมาตรฐาน 2
มาตรฐานที่ ๒ คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ มาตรฐาน น้ำหนัก (คะแนน)
มาตรฐาน
น้ำหนัก(คะแนน)
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
คะแนนที่ได้
ระดับคุณภาพ
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ คุณภาพของหลักสูตร
๓.๒๐
ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒ คุณภาพของครู
๓.๒๐
ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู และผู้สอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ
๓.๖๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๔ คุณภาพผู้สอน/วิทยากร การศึกษาต่อเนื่อง
๓.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๕ คุณภาพสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้รับบริการ
๓.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖ คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
๔.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๗ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
๒.๔๐
ดี
ผลรวมของคะแนน
๒๕
๒๒.๔
ดีมาก
                         ผลการประเมินตนเองภายในสถานศึกษามาตรฐานที่ ๒ คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ ได้คะแนน ๒๒.๔  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ผลการประเมินตนเองดังกล่าว เกิดจากความตระหนักและความ พยายามในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
           ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ให้ความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร ทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง โดยขอความเห็นชอบคณะกรรมการระดับตำบล คณะกรรมการสถานศึกษา และ คณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอเมืองลำปาง เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง มีการพัฒนาคุณภาพ ของครู ผู้สอน/วิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน คือ พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี คุณภาพโดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ ETV การใช้โปรแกรมQuipper Schoolของกศน.ตำบลบ้านเสด็จ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะเห็นได้จากการนำนักศึกษาเข้าประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ของกศน.ตำบลทุ่งฝาย ได้รับรางวัลระดับภาคเหนือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ปี ๒๕๕๗  กศน.ตำบลต้นธงชัย โครงงานประดิษฐ์เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าจากวัสดุรีไชเคิล ได้รับรางวัลชมเชยระดับภาคเหนือ ปี ๒๕๕๘  นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลระดับจังหวัดในงานวันที่ระลึกสากลแห่งการอ่าน รางวัล     ชนะเลิศประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ การเต้น COVER DANCE และ การพูด Talk Show การประกวดคลิปคุณธรรมค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ได้รับรางวัลชมเชยจากสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑ จังหวัดเชียงใหม่ กศน.ตำบลนิคมพัฒนาส่งสุดยอดภาพถ่ายกิจกรรมป้องกันยาเสพติดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ระดับจังหวัดได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ และได้รับรางวัลการแข่งขันฟุตซอลเยาวชนอาสารักษาดินแดนต้านยาเสพติด ปี ๒๕๕๘ ชนะเลิศโซนกลาง (อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตร อำเภอเกาะคา อำเภอแม่เมาะ อำเภอแม่ทะ ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ของจังหวัดลำปาง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ได้ดำเนินการในเรื่องของสื่อ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ที่เพียงพอต่อผู้เรียน/ผู้รับบริการอย่างรวดเร็วทันต่อการให้บริการ มีการจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในชุมชน และแหล่งเรียนรู้ เช่น โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ การส่งเสริมการอ่านในชุมชนได้จัดโครงการกิจกรรมการเรียนรู้ตามวาระ “ลำปางนครแห่งการอ่าน” โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในทุกตำบลๆละ ๑ หมู่บ้าน ในช่วงระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ๒๔๔๘ เพื่อคัดเลือกผลงานเข้าร่วมกิจกรรมรวมพลคนรักการอ่าน เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในศุภวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ครบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งทุกกิจกรรมได้ดำเนินการในหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ของทุกตำบล โดยดำเนินการจัดกิจกรรม กศน.ที่หลากหลาย ครอบคลุม และทั่วถึง ส่งเสริมให้บุคคลหรือคนในชุมชน สังคมเกิดการเรียนรู้จากองค์ความรู้ต่าง ๆ สามารถตัดสินใจและแก้ไข ปัญหาหรือพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ข้อมูลความพยายาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยดำเนินการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือก วิชาลูกเสือกับการพัฒนาตนเองและสังคม รหัส สค ๐๓๑๑๑ ในวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗  เสนอผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสถานศึกษา และอนุมัติการใช้หลักสูตรโดยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ส่วนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง (ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน) การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำในโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จำนวน ๓๐ หลักสูตรมีตั้งแต่ จำนวน ๕๐  - ๖๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย หลักสูตรการทำของชำร่วยของที่ระลึก หลักสูตรการส่งเสริมการเรียนรู้การจัดตั้งวงดนตรีไทยสู่อาชีพ หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าตีนจก หลักสูตรการนวดแผนโบราณ หลักสูตรการนวดตัว หลักสูตรการวาดภาพ หลักสูตรการนวดฝ่าเท้า หลักสูตรการทำกระเป๋าจักสาน หลักสูตรการทำโคมไฟล้านนา หลักสูตรการสกรีนเสื้อและกระเป๋า หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาร้า หลักสูตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว หลักสูตรการทำข้าวเกรียบสมุนไพร หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้นหลักสูตรการฝึกทักษะอาชีพช่างไฟฟ้า หลักสูตรการทำดอกไม้ประดิษฐ์ หลักสูตรการทำจักสานตะกร้าจากปอฟาง หลักสูตรการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสาน หลักสูตรการทำผ้ามัดย้อม หลักสูตรการเพาะเห็ดฟาง หลักสูตรการเพาะเห็ดนางฟ้า หลักสูตรการเย็บกระเป๋าผ้า หลักสูตรการซ่อมจักรเย็บผ้า หลักสูตรการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ หลักสูตรการปลูกผักปลอดสารพิษ หลักสูตรการเลี้ยงกบ หลักสูตรช่างเชื่อม การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ หลักสูตรการทำอาหารว่างเพื่อสร้างธุรกิจ หลักสูตรการทำน้ำพริกแกงเป็นอาชีพ
 จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอเมืองลำปาง และคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๗ ผลการพิจารณาคณะกรรมการเห็นชอบหลักสูตร ให้สามารถดำเนินงานจัดกระบวนการเรียนรู้ และจัดทำแผนการเรียนรู้แบบในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจัดทำหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องที่ ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร มีการบูรณาการกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียน และชุมชน โดยการ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความต้องการ และการจัดเวทีประชาคมของหมู่บ้าน ที่สามารถนำไปใช้ใน การจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน/ผู้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาบุคลากร โดยมีการสำรวจครู พบว่าครูมีใบประกอบวิชาชีพ จำนวน ๑๒ คน และสำหรับผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตแต่มีหนังสืออนุญาตการสอนของครูผู้ไม่มีใบประกอบ จำนวน ๑๖ คน ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูและผู้สอนทุกคนมีความรู้ในหลักสูตรและเนื้อหาวิชาในหลักสูตรอย่างดี จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ ครูมีทักษะด้านวิชาชีพครูและมีความสามารถในการใช้ยุทธวิธีในการสอน และการประเมินผลอย่างหลากหลาย โดยการทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน มีการนำผู้เรียนของกศน.ตำบลต่าง ๆ ศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ศึกษาความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณี เหรียญรุ่นต่าง ๆ ณ พิพิธภัณฑ์เขลางค์นคร และมีการใช้สื่อจาก เทคโนโลยี ในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าจากสื่อ ETV และงานวิจัยการใช้โปรแกรมQuipper School ของกศน.ตำบลบ้านเสด็จ และการให้ผู้เรียน    ลงมือปฏิบัติจริงในการทำโครงงาน มีสื่อการเรียนรู้สำหรับคนพิการ เช่น สื่อDVD บัตรคำ และรูปทรงเลขาคณิต เป็นต้น ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และสามารถนำมาถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการ (KM) ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ เช่น การอบรมการจัดการเรียนรู้สถานศึกษาพอเพียง การอบรมการพัฒนาศักยภาพครูกศน.ด้านการใช้สื่อ ETV การอบรมการเขียนBlogger การอบรมการพัฒนาครูผู้สอนคนพิการด้านการทำสื่อการสอน เป็นต้น ในรอบ ๖ เดือน ครูจะได้รับการประเมินการจัดการเรียนรู้ ผลการปฏิบัติงาน โดยคณะกรรมการการประเมิน และนำผลการประเมินมาพัฒนาการพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเองในรอบ ๖ เดือนหลัง สำหรับในด้านการมี คุณธรรม จริยธรรมของครู และผู้สอนทุกคนมีการทำกิจกรรมไหว้พระสวดมนต์ ก่อนการจัดกิจกรรมทุกครั้ง มีการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา ร่วมกิจกรรมในชุมชน เช่น งานไหว้สาอริยสงฆ์เจ้าครูบาหลวงพ่อเกษมเขมะโก งานลำปางนครแห่งการอ่าน และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียนในการปฏิบัติตามได้อย่าง สม่ำเสมอ
ครูมีการวิเคราะห์หลักสูตรร่วมกับผู้เรียนก่อนนำมาจัดทำแผนการเรียนรู้ เพื่อให้ตรงตามเป้าหมายการ จัดการเรียนรู้ตามรายวิชานั้น ๆ ซึ่งผู้เรียนเลือกเรียนในวิธีการพบกลุ่ม สำหรับนักศึกษาคนพิการมีการคัดกรองผู้เรียน และจัดทำแผนรายบุคคล ครูมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนในชุมชน ออกแบบ ใบงาน ใบความรู้ จัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน การศึกษาเรียนรู้จากภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ จากศูนย์วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่หลากหลายในการใช้สื่อ เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการพัฒนาผู้เรียนในการเรียนรู้ด้าน ICT การเรียนรู้ด้วยตนเองจากมุมการเรียนรู้ เช่น มุมอาเซียน มีการบันทึกการอ่านจากสื่อหนังสือ และการค้นคว้าจาก Internet ครูมีบันทึกหลังการสอน และการทำวิจัยอย่างง่าย เพื่อนำปัญหาที่พบมาปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการจัดระบบ ช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ โดยการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ของครูผู้สอนคนพิการ และการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายธรรมะสอนใจขับเคลื่อนนโยบายลำปางแห่งความสุข ค่ายค่านิยมหลัก ๑๒ ประการของคนไทย ค่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่องของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง มีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนจากการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านสังคมแห่งการเรียนรู้ และการประชุมกลุ่มอาชีพศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทุกตำบล หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ คือ หลักสูตรการทำของชำร่วยของที่ระลึก หลักสูตรการส่งเสริมการเรียนรู้การจัดตั้งวงดนตรีไทยสู่อาชีพ หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าตีนจก หลักสูตรการนวดแผนโบราณ หลักสูตรการนวดตัว หลักสูตรการวาดภาพ หลักสูตรการนวดฝ่าเท้า หลักสูตรการทำกระเป๋าจักสาน หลักสูตรการทำโคมไฟล้านนา หลักสูตรการสกรีนเสื้อและกระเป๋า หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาร้า หลักสูตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว หลักสูตรการทำข้าวเกรียบสมุนไพร หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้น หลักสูตรการฝึกทักษะอาชีพช่างไฟฟ้า หลักสูตรการทำดอกไม้ประดิษฐ์ หลักสูตรการทำจักสานตะกร้าจากปอฟาง หลักสูตรการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสาน หลักสูตรการทำผ้ามัดย้อม หลักสูตรการเพาะเห็ดฟาง หลักสูตรการเพาะเห็ดนางฟ้า หลักสูตรการเย็บกระเป๋าผ้า หลักสูตรการซ่อมจักรเย็บผ้า หลักสูตรการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ หลักสูตรการปลูกผักปลอดสารพิษ หลักสูตรการเลี้ยงกบ หลักสูตรช่างเชื่อม หลักสูตรการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ หลักสูตรการทำอาหารว่างเพื่อสร้างธุรกิจ หลักสูตรการทำน้ำพริกแกงเป็นอาชีพ
สำหรับวิทยากร/ผู้สอนการศึกษาต่อเนื่อง วิทยากรทุกคนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละสาขา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งมอบหมายจากผู้บริหารให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากร โดยผู้สอนทุกคนสามารถจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ครอบคลุมตามโครงสร้างหลักสูตร มีทักษะและเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ ในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ตามหลักสูตร มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามเนื้อหาของหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน จากผลงานชิ้นงาน และการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน มีการติดตามผล และ ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้เรียนตลอดหลักสูตร เมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ สรุปผลการจบหลักสูตรตามเนื้อหา จัดทำสรุปผลการจัดกิจกรรมในแต่ละหลักสูตร และนำผลการประเมิน ไปปรับปรุงหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำผลมาใช้ในการพัฒนา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง มีการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน และ ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาในเขตพื้นที่อำเภอเมืองลำปาง เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ข้อมูลทำเนียบและสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ตามความต้องการ อย่างหลากหลาย ทันสมัย และเข้าถึงได้ง่าย จึงได้ดำเนินการจัดทำอยู่ในรูปแบบแฟ้มแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาอำเภอเมืองลำปาง โดยแยกเป็นตำบล แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เป็นต้น เว็บไซด์ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง http://203.172.142.11/LRLS/frontend/theme/index.php?Submit=Init&ID_Lib=607 และ https://th-th.facebook.com/LapangLib   และเว็ปไซต์ศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง http://www.apmlpnfe.com/
          มีการจัดหาสื่อที่มีคุณภาพหลากหลาย ทันสมัย สร้างสรรค์กับความต้องการของผู้รับบริการ โดยได้ดำเนินการสำรวจความต้องการหนังสือ และสื่อของ กศน.ตำบลทั้ง ๑๙ ตำบล ห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองลำปาง และห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง จากกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่อำเภอเมืองลำปาง มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการกำหนดราคากลาง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ตามคำสั่งที่ ๒๑๖ /๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคา ๒๕๕๘  ในการพิจารณาคัดเลือกหนังสือและ สื่อการเรียนรู้จากข้อมูลการสำรวจ เพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ เหมาะสม ทันสมัย ตรงกับความต้องการของ ผู้รับบริการ มีระบบการให้บริการที่สามารถเข้าถึง และใช้บริการได้ง่าย ได้ดำเนินการโดยจัดหมวดหมู่หนังสือตาม ระบบดิวอี้ ติดแถบสี ทะเบียนคุมสื่อ เพื่อสะดวกในการค้นคว้าและจัดเก็บได้ด้วยตนเอง ตลอดจนการใช้โปรแกรม บริหารงานห้องสมุด (PLS) ในการจัดเก็บข้อมูลหนังสือ และสื่ออิเล็กทรอนิค นอกจากนี้มีการจัดมุมต่างๆ เช่น แนะนำหนังสือใหม่ หนังสือน่าอ่าน มุมอาเซียน มุมหนังสือพิมพ์ มุมเด็กและเยาวชน มีบริการอินเตอร์เน็ต เพื่อการสืบค้น ตามทะเบียนการให้บริการ ICT และ ห้องโฮมเธียรเตอร์ มีการจัดทำเว็บไซด์ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง  มีการจัดกิจกรรมการอ่านสู่ชุมชน เพื่อให้การให้บริการเข้าถึงได้ง่าย คือกิจกรรมสื่อห้องสมุดหมุนเวียนในพื้นที่ ๑๙ ตำบล การจัดนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในสถานศึกษา การจัดกิจกรรมลำปางนครแห่งการอ่าน ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในชุมชน มี การส่งเสริม แนะนำการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนขั้นพื้นฐาน เช่นการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน การจัดทำโครงงาน การทำโครงการสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน และรายงานด้านการเรียนรู้ จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นต้น การจัดกิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ในการให้บริการรถโมบายและการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีการสรุปผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ การจัดหรือส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อ แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสนองตามความสนใจและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
โดยมีการศึกษาพื้นที่ และรูปแบบการให้บริการในชุมชนทุกตำบล มีการจัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ทางเว็ปไซต์ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการดังนี้
        จัดกิจกรรมหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ หลักสูตร ๕๐ ชั่วโมง จำนวน ๓ กลุ่ม ตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้  มีการประชาสัมพันธ์การให้บริการทางการศึกษาเพื่อกระตุ้น หรือให้ผู้รับบริการเข้าถึง เว็บไซด์ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง แผ่นพับประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และในวันที่ ๑๑ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมส่งเสริมการอ่านบ้านหนังสือชุมชน ให้เครือข่ายมีความรู้และเข้าใจ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสู่ชุมชน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างจริงจังต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ผู้จัดการศึกษาตามอัธยาศัยได้รับการพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างต่อเนื่อง คือ การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมส่งเสริมการอ่านบ้านหนังสือชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ เข้าร่วมงานเปิดโครงการนครลำปางแห่งการอ่าน วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ณ สวนสาธารณะเขลางค์ เข้าร่วมโครงการเปิด   รั้วเตรียมอุดมศึกษาฯ ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาเขลางค์นคร ร่วมกิจกรรมประกวดการอ่านอาขยาน ณ โรงเรียนไตรภพวิทยา และการจัดทำข้อมูลเผยแพร่ทางเว็ปไชต์ห้องสมุด เว็ปไซต์ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง โดยได้นำกระบวนการมาจัดกิจกรรมได้อย่างมีคุณภาพ ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ในทุกพื้นที่มีการสำรวจสภาพปัญหา และความต้องการจากการจัดเวทีประชาคมในหมู่บ้านสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งได้คัดเลือก ๑ หมู่บ้านในทุกตำบล เป็นหมู่บ้านนำร่องในการจัดการเรียนรู้ คือตำบลทุ่งฝาย ตำบลบ้านเป้า ตำบลปงแสนทอง ตำบลพระบาท ตำบลนิคมพัฒนา มีการสำรวจข้อมูลและจัดทำเวที เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนในหมู่บ้านสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่แผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ทุกกิจกรรมสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการอบรมพัฒนาผู้เรียนด้าน ICT หลักสูตร ๔๐ ชั่วโมง ตำบลพิชัย ตำบลหัวเวียง ตำบลบ่อแฮ้ว  ตำบลทุ่งฝาย ศูนย์การเรียนวิทยานุเคราะห์ จำนวน ๒๐๐ คน ค่ายภาษาอังกฤษ  English for fun English We Can จำนวน ๔๗๓ คน โครงการอาสาสมัครเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดนอกระบบ จำนวน ๑๖๐ คน โครงการธรรมะสอนใจขับเคลื่อนนโยบายลำปางแห่งความสุข จำนวน ๑๖๐ คน และโครงการประกวด DANCE TOBE NUMBER จำนวน ๔๘๘ คน โครงการค่ายคุณธรรม ๑๒ ประการหลักของคนไทย โครงการสานสัมพันธ์กีฬาต้านยาเสพติด จำนวน ๗๒๕ คน กิจกรรมสอนเสริมภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม กศน.ตำบลบ้านเป้า งานการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ มีการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจำนวน ๑,๓๔๖ คน โครงการหนึ่งคนหนึ่งอาชีพ หลักสูตรการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ หลักสูตรการทำดอกไม้จัน หลักสูตรการทำขนมปังปิ้ง หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระดาษสา หลักสูตรการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน หลักสูตรการทำปุ๋ยหมัก หลักสูตรการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ หลักสูตรสระเซ็ทผม หลักสูตรการเพาะถั่วงอกคอนโด หลักสูตรการจัดสวน หลักสูตรพวงกุญแจถักโครเชท์ หลักสูตรขนมไข่นกกระทา หลักสูตรการประดิษฐ์ของชำร่วย หลักสูตรการปลูกผักสวนครัว หลักสูตรการทำอาหารว่าง หลักสูตรการปลูกพืชไร้ดิน หลักสูตรการเย็บกระเป๋าผ้าใส่โทรศัพท์มือถือ หลักสูตรการทำลูกประคบ และหลักสูตรการทำขนมสร้างอาชีพจำนวน  ๔๑๐  คน   
      งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต หลักสูตรการสอนรำไทเก๊กเพื่อสุขภาพผู้สูงวัย หลักสูตรการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ หลักสูตรการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ หลักสูตรการอบรมสุขภาพดีชีวีเป็นสุข หลักสูตรการอบรมการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพ หลักสูตรการอบรมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ หลักสูตรการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก หลักสูตรการเต้นออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี หลักสูตรการส่งเสริมคุณธรรมนำชีวิตผู้สูงอายุ หลักสูตรการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ  หลักสูตรการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ หลักสูตรการให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการของผู้สูงวัย หลักสูตรการเต้นแอโรบิคสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน ๗๗๐ คน
      งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน หลักสูตรการอบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน หลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่น  หลักสูตรการส่งเสริมอาสาสมัครอนุรักษ์ป่าชุมชน  หลักสูตรการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยภายในชุมชน หลักสูตรการส่งเสริมคุณธรรมการทำความดีสู่ชุมชน หลักสูตรการให้ความรู้เรื่องการทำฝายชะลอน้ำ หลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานในชีวิตประจำวัน หลักสูตรการประดิษฐ์ของใช้จากขยะ      รีไซเคิล  หลักสูตรการส่งเสริมการสร้างค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ  หลักสูตรการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการกลุ่มผู้ปลูกหญ้าฯ จำนวน ๗๗๐ คน และโครงการหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๘๔๐ คน ส่งผลให้ชุมชนดังกล่าวเกิดการพัฒนาทักษะความสามรถในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ในชุมชนสามารถนำสู่การปฏิบัติพัฒนาตนเอง สังคมและชุมชนได้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งจาก การศึกษาดูงาน การฝึกอบรมระยะสั้น การบริหารจัดการชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการประเมินผลโครงการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำปัญหาอุปสรรคมาปรับปรุงหรือพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และดำเนินการต่อไปสู่การเป็นชุมชนที่เข้มแข็งหลักฐานการประกอบการดำเนินงาน ๑. สมุดประชาคมของกศน.ตำบล ๒. หลักสูตรสถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา ๓. หลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอ ๔. คำสั่งที่ ๐๕๑/๒๕๕๗ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกลูกเสือกับการพัฒนาตนเองและสังคม  ๕. คำสั่งที่๐๕๑/๒๕๕๗   เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง (ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน) ๖. รายงานการประชุมขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาในหลักสูตร  ๗. รายงานการประชุมขอความเห็นชอบหลักสูตรอาชีพ จากคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอ ๘. แบบประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตร ๙. โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบฯ ๑๐.รายงานการวิจัย ๑๑.รายงานการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านสังคมแห่งการเรียนรู้ ๑๒.สื่อรายวิชาเลือก ลูกเสือกับการพัฒนาตนเองและสังคม ๑๓.แผนการเรียนรู้รายภาค และรายสัปดาห์รายบุคคล ๑๔.หลักสูตร และแผนการเรียนรู้การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ๑๕.รายงานการศึกษาต่อของผู้จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ๑๖.รายงานการจบหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน ๑๗.รายงานการจบหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพ ๑๘.รายงานการติดตามผู้จบรายบุคคลของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบล ๑๙.บันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน ๒๐.รายงานการประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ๒๑.ใบประกอบวิชาชีพครู ๒๒.หนังสืออนุญาตการสอนโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ๒๓.แฟ้มสะสมงานของครู ๒๔.รายงานผลการปฏิบัติงานของครูทาง Blogger ๒๕.แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ๒๖.โครงงานนักศึกษา ๒๗.บันทึกการเรียนรู้การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เช่น บันทึกการเรียนรู้ของนักศึกษา ๒๘.สื่อการเรียนการสอนรายบุคคล เช่น DVD, บัตรคำ, รูปทรงเลขาคณิต เป็นต้น ๒๙.บันทึกหลังการสอนของครู ๓๐.รายงานการนิเทศ ติดตาม ๓๑.แบบติดตามผู้เรียนรายบุคคล ๓๒. สรุปผลการอบรม ประชุม สัมมนาของครูและผู้สอน ๓๓.เกียรติบัตร วุฒิบัตรการอบรมของครู เช่น การเป็นวิทยากรลูกเสือ การอบรมบุคลากร สถานศึกษาพอเพียง การจัดการองค์ความรู้ (KM) ๓๔.แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘  ๓๕. รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานครูและผู้สอน ๓๖.คำสั่งของกศน.อำเภอเมืองลำปาง ที่๔๐๔/๒๕๕๘  เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินพนักงานราชการปี ๒๕๕๘ ๓๗.บันทึกการตรวจเยี่ยมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูจากภาคีเครือข่าย ๓๘. Blogger การประเมินจากคณะกรรมการประเมินพนักงานราชการ และการประเมิน กศน.ตำบล ๓๘.รายงานปฏิบัติงานของครู ๓๙.รายงานการทำกิจกรรม กพช. ของผู้เรียน ๔๐.เกียรติบัตรการอบรมของครู เช่น เกียรติบัตรอบรมวิธีการใช้แบบคัดกรองทางการศึกษา เกียรติบัตรการอบรมวิทยากรต้นแบบหลักสูตรขับเคลื่อนนโยบายลำปางสุจริต ประชุมเชิงปฏิบัติการการเงินบัญชีและพัสดุ อบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมส่งเสริมการอ่านบ้านหนังสือชุมชน  เป็นต้น ๔๑.แบบบันทึกข้อมูลรายบุคคล ๔๒.รายงานการคัดกรองผู้เรียนรายบุคคลของคนพิการ ๔๓.บันทึกกรต. และการค้นคว้าจาก Internet ๔๔.รูปภาพการจัดบรรยากาศของ กศน.ตำบล เช่น มุมการเรียนรู้ต่าง ๆ ๔๕.วิจัยในชั้นเรียนของครู ๔๖.บันทึกการสอนของครู             ๔๗.แบบติดตามผู้เรียนรายบุคคล ๔๘. สรุปค่ายคุณธรรม ๑๒ ประการของคนไทย โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจเรื่องเพศศึกษา โครงการธรรมะสอนขับเคลื่อนนโยบายแห่งความสุข เป็นต้น ๔๙.รายงานการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๕๐.รายงานการประชุมกลุ่มอาชีพ ๕๑.แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตร  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบล ประจำปี ๒๕๕๘   ๕๒.บันทึกการนิเทศติดตามจากคณะกรรมการนิเทศภายใน และภาคีเครือข่าย ๕๓.รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน ๕๔.รูปภาพการสาธิต และการลงมือปฏิบัติจริงของผู้เรียน  ๕๕.แฟ้มประวัติวิทยากรวิชาชีพ ๕๖. คำสั่งแต่งตั้งวิทยากรหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง      ๕๗.วุฒิบัตร เกียรติบัตรความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของวิทยากร ๕๘.รายงานผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอเมืองลำปาง ๕๙.สมุดเยี่ยมของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบล   ๖๐.ทำเนียบแหล่งเรียนรู้   ภูมิปัญญาอำเภอเมืองลำปาง ๖๑.คำสั่งที่ ๒๒๐/๒๕๕๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบราคาซื้อสื่อประกอบการสอนและหนังสืออ่านนอกเวลา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ๖๒.รายงานผลการพิจารณาคัดเลือกหนังสือและสื่อการเรียนรู้ ๖๓.รายงานการสำรวจความต้องการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ๖๔.ทะเบียนคุมหนังสือห้องสมุดประชาชนอำเภอและกศน.ตำบล ๖๕.โปรแกรมบริหารงานห้องสมุด (PLS) ๖๖.ทะเบียนการใช้อินเตอร์เน็ตห้องสมุด/กศน.ตำบล ๖๗.ทะเบียนหมุนเวียนสื่อห้องสมุดประชาชน ๖๘.แผ่นพับแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาอำเภอเมืองลำปาง ๖๙.รายงานผลการจัดกิจกรรมบ้านหนังสืออัจฉริยะ ๗๐.รายงานการใช้แหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา ๗๑.ผลงาน/ชิ้นงานกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ๗๒.แผ่นพับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ๗๓.ภาพถ่ายการไปศึกษาดูงานการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา     ๗๔.รายงานโครงการประชุมปฏิบัติการกิจกรรมส่งเสริมการอ่านบ้านหนังสือชุมชน ๗๕.หลักสูตรการจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย เช่น หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ เว็ปไซต์ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง http://www.apmlpnfe.com/ และเว็ปไซค์ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง https://th-th.facebook.com/LapangLib   http://203.172.142.11/LRLS/frontend/theme/index.php?Submit=Init&ID_Lib=607 ๗๖.แฟ้มสะสมงานรายบุคคล(วุฒิบัตร ประกาศนียบัตรการเข้าประชุม อบรม สัมมนา ) ๗๗.รายงานการศึกษาดูงานกลุ่มอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ๗๘. สมุดบันทึกการประชุมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ๗๙.สมุดบันทึกการตรวจเยี่ยมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน  ๘๐. รายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบล ๘๑. รายงานการประเมินโครงการหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตำบล
 สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่ ๒ จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่ ๒ พบว่าสถานศึกษา บรรลุตามเป้าหมาย ความสำเร็จของมาตรฐานที่ ๒ ที่กำหนดไว้โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้
จุดเด่น. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทุกภาคเรียน มีหลักสูตรวิชาเลือก วิชาลูกเสือกับการพัฒนาตนเองและสังคม โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษา และหลักสูตรการศึกษาอาชีพ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพ ชุมชน โดยเนื้อหาของหลักสูตรมีการบูรณาการสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการและชุมชน ที่นำไปสู่การใช้จัดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตร และประเมินหลักสูตรเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
. ครูและผู้สอนทุกคนมีใบประกอบวิชาชีพหรือหนังสืออนุญาตให้สอน มีความรู้ในหลักสูตรและเนื้อหา วิชาในหลักสูตร มีทักษะด้านวิชาชีพครู และสามารถใช้ยุทธวิธีในการสอนและการประเมินผลอย่างหลากหลาย ครู และผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถที่ตรงตามสาขาวิชา โดย ได้รับการประเมินการจัดการเรียนรู้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำผลการประเมินมาพัฒนาตนเอง ส่งผลให้ทุกคนมี คุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้เรียน
. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง ได้จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีสื่อ แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีการจัด หรือส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย มีการประชาสัมพันธ์การให้บริการทางการศึกษาเพื่อกระตุ้นให้ ผู้รับบริการเข้าถึง ส่วนครู บุคลากร และบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความ สามารถในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ
จุดควรพัฒนา
. ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่ครบทุกตำบลทำให้การประเมินผลจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการเรียนรู้ครบทุกคน
. ครูไม่มีการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการวางเงื่อนไขให้ผู้เรียน ประเมิน ความก้าวหน้าของตนเองและนำไปใช้ปรับปรุง พัฒนาตนเอง และประเมินความพึงพอใจของครูในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
          . ครู/วิทยากรการศึกษาต่อเนื่องไม่มีการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำปัญหาและ อุปสรรคมาพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป และขาดการพัฒนาการเรียนรู้
          ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
           . ครูควรมีการวางแผนการทำวิจัยในชั้นเรียน และแต่งตั้งคณะทำงานที่ชัดเจน มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
          . จัดทำรูปแบบการประเมินความก้าวหน้าทั้งของครูและผู้เรียน เพื่อสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียน การสอน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ดีขึ้น
         . จัดทำรูปแบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรมให้วิทยากรนำไปใช้ และส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมหรืออบรม ให้ความรู้แก่ผู้สอน/วิทยากรเพื่อการพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาต่อเนื่อง และแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน วิทยากร/ผู้สอนสำหรับการประเมินให้เกิดการพัฒนางานให้มีคุณภาพ หรือในแบบนิเทศ ติดตามควรมีประเด็นในการติดตามวิทยากร/ผู้สอน
        . ควรจัดให้มีแบบประเมินความพึงพอใจในแหล่งเรียนรู้ หรือภูมิปัญญา สำหรับให้ผู้มาใช้บริการได้ ประเมินผลต่อการพัฒนา ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น