โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558
ณ กศน.ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
บรรยากาศของการปฐมนิเทศวันนี้มีนักศึกษาทะยอยมาตั้งแต่เช้า รวมนักศึกษาที่เข้าร่วมปฐมนิเทศวันนี้จำนวน 42 คน ซึ่งก่อนการปฐมนิเทศได้ประสานงานโรงเรียนลำปางบริรักษ์มาตรวจสุขภาพให้นักศึกษา วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก รอบเอว ส่วนสูง และ คัดกรองการใช้สารเสพติด ตรวจปัสสาวะ เพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนที่ 2/2558 นี้
เข้าแถวรอตรวจวัดความดันและตรวจฉี่ |
วัดรอบเอว |
จากนั้นเป็นการปฐมนิเทศนักศึกษาโดยมีอาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตร เป็นประธานให้ข้อคิดกับนักศึกษาในเรื่องความสำคัญของการมาพบกลุ่มเพื่อจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นยำ้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการเรียนซึ่งปีนี้กศน.ตำบลที่อยู่ในวัดต้องมีการจัดกิจกรรมที่เน้นในเรื่อง บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียนเป็นหลักในการจัดกิจกรรม สิ่งที่นักศึกษาต้องรู้ในการมาปฐมนิเทศครั้งนี้ก็คือ
1. โครงสร้างหลักสูตรการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เพราะกศน.ตำบลหัวเวียงมีนักศึกษา 2 ระดับ
2. การทำกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ต้องทำให้ครบ 200 ชั่วโมง หากทำไม่ครบก็ไม่จบหลักสูตรเพราะฉะนั้นนักศึกษาต้องให้ความสำคัญ
3. วิชาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนนี้มีกี่วิชาต้องจำให้ได้ไม่ใช่สอบกลางภาคปลายภาคไม่ไปสอบ
ก็ไม่จบเพราะฉะนั้นนักศึกษาต้องจำให้ได้ การหมดสภาพนักศึกษา 5 ปี นับจากลงงทะเบียน
ก่อนจากการอาจารย์ยุรัยยา ได้ฝากนักศึกษาในเรื่องการดูแลกศน.ตำบล และช่วยครูพิรุณ รัตนงามวงค์ หรือครูเปิ้ลในเรื่องการทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติดเพราะสถานศึกษาของเราเป็นสถานศึกษาสีขาว และการนำปรัชาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในการเรียนการทำกิจกรรมเพราะสถานศึกษาของเราเป็นสถานศึกษาพอเพียง
ต่อจากนั้นได้มีการจัดแนะแนวอาชีพผู้ช่วยพยาบาลในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุจากโรงเรียนภูมินทร์บริบาลอาจารย์นงเยาว์ ซึ่งหากนักศึกษาสนใจสามารถที่จะสมัครเรียนได้ควบคู่กับกศน.เพราะหยุดวันเสาร์ และ
วันอาทิตย์ เมื่อเรียนจบสามารถฝึกงานได้ที่โรงพยาบาลเขลางค์ราม โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มาตรี และ
โรงพยาบาลเวนเซ็นวุด
อาจารย์นงเยาว์ แนะแนวอาชีพผู้ช่วยพยาบาลให้นักศึกษา |
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
J หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ต้องเรียนอะไรบ้าง?
โครงสร้าง
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
ที่
|
สาระการเรียนรู้
|
จำนวนหน่วยกิต
|
|||||
ประถมศึกษา
|
มัธยมศึกษาตอนต้น
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย
|
|||||
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
||
1
|
ทักษะการเรียนรู้
|
5
|
5
|
5
|
|||
2
|
ความรู้พื้นฐาน
|
12
|
16
|
20
|
|||
3
|
การประกอบอาชีพ
|
8
|
8
|
8
|
|||
4
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
5
|
5
|
5
|
|||
5
|
การพัฒนาสังคม
|
6
|
6
|
6
|
|||
รวม
|
36
|
12
|
40
|
16
|
44
|
32
|
|
48 หน่วยกิต
|
56 หน่วยกิต
|
76 หน่วยกิต
|
|||||
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
|
200 ชั่วโมง
|
200 ชั่วโมง
|
200 ชั่วโมง
|
หมายเหตุ วิชาเลือกในแต่ละระดับต้องจัดให้ผู้เรียน
เรียนรู้จากการทำโครงงาน
จำนวนอย่างน้อย 3
หน่วยกิต
J ถ้าเรียนครบตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 แล้ว แต่ยังไม่ได้ทำโครงงาน 3 หน่วยกิต จะต้องทำอย่างไร?
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
กำหนดให้ในแต่ละระดับการศึกษาต้องทำโครงงานในรายวิชาเลือกอย่างน้อย 3 หน่วยกิต
ดังนั้น
ก่อนจบหลักสูตรสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนหลักสูตรรายวิชาเลือกในรูปแบบโครงงาน
อย่างน้อย 3 หน่วยกิต
J
การลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคเรียน จะลงทะเบียนได้กี่หน่วยกิต?
การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิตในแต่ละภาคเรียน
ดังนี้
F ระดับประถมศึกษา
ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
F ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วยกิต
F ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 23 หน่วยกิต
J หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 จะใช้เวลาเรียนกี่ภาคเรียน?
การเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแต่ละระดับจะใช้เวลาเรียน
4 ภาคเรียน ยกเว้น กรณีที่มีการเทียบโอน สามารถจบก่อน 4
ภาคเรียน แต่ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
(กพช.) คืออะไร?
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียน
และเป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร โดยเน้นให้เป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยพัฒนาตนเอง
ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยในทุกระดับการศึกษาต้องเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
J ลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
(กพช.) เป็นอย่างไร?
ลักษณะการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) แบ่งเป็น
2 ประเภท ดังนี้
F กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองและครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน
ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย/จิต ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านยาเสพติด เป็นต้น
F กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมี ส่วนร่วมของผู้เรียน ได้แก่ ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ ด้านประชาธิปไตย ด้านการสนับสนุนส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
J ผู้เรียนที่จะทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
(กพช.) ต้องทำอย่างไร?
บทบาทของผู้เรียนในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) มีดังนี้
F ลงทะเบียนทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
F ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทำความเข้าใจและประเมินตนเองในด้านความรู้พื้นฐาน
F ร่วมประชุมวางแผนการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
F ยื่นคำร้อง
และเสนอโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
F ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว
F จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการต่อครูที่ปรึกษาตามแผนและระยะเวลาที่สถานศึกษากำหนด
โดยผู้เรียนต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
J หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 วัดและประเมินผลอย่างไร?
การวัดและประเมินผลมี 2 ระดับ คือ
F การประเมินผลระดับสถานศึกษา เป็นการดำเนินการประเมินผล ดังนี้
P
วัดและประเมินผลการเรียนเป็นรายวิชา
P
ประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
P ประเมินคุณธรรม
F การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-Net) ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินในภาคเรียนสุดท้ายก่อนสอบปลายภาคของภาคเรียนนั้น
ๆ
กรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีอะไรบ้าง?
ในปีการศึกษา 2555 สำนักงาน กศน.
ได้กำหนดกรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 8 กิจกรรม ดังนี้
F กิจกรรมพัฒนาวิชาการ
F กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
F กิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ICT)
F กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
F กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ
ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์
F กิจกรรมการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
F กิจกรรมลูกเสือ
และกิจกรรมอาสายุวกาชาด
F กิจกรรมด้านกีฬา
และส่งเสริมสุขภาพ
J เรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 แล้วจะจบเมื่อไหร่?
ผู้เรียนทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเกณฑ์การจบหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา ดังนี้
P ผ่านเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้รายวิชาในแต่ละระดับการศึกษา
ตามโครงสร้างหลักสูตร
C ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า
48 หน่วยกิต แบ่งเป็นรายวิชาบังคับ 36 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า
12 หน่วยกิต
C ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า
56 หน่วยกิต แบ่งเป็นรายวิชาบังคับ 40 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า
16 หน่วยกิต
C ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า
76 หน่วยกิต แบ่งเป็นรายวิชาบังคับ 44 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 32
หน่วยกิต
P ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
(กพช.) ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
P ผ่านการประเมินคุณธรรม ในระดับพอใช้ขึ้นไป
P เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
AAAAAAAAAAAAAAA
จากนั้นครูได้อธิบายการใช้สมุดกรต.ที่แจกให้นักศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการบันทึกการเรียนรู้ของตนเองและบอกรายวิชาลงทะเบียนโดยอ่านชื่อผู้เรียนและรายวิชาที่ลงทะเบียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้นักศึกษาจดบันทึกรายวิชาในสมุดกรต.
อธิบายโครงสร้างหลักสูตร |
บอกรายชื่อวิชาลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2/2558 |
ปฐมนิเทศ นักศึกษา มีการตรวจสุขภาพและคัดกรองเกี่ยวกับสารเสพติด ดีมากค่ะ นักศึกษามีความตั้งใจดี
ตอบลบปฐมนิเทศ นักศึกษา มีการตรวจสุขภาพและคัดกรองเกี่ยวกับสารเสพติด ดีมากค่ะ นักศึกษามีความตั้งใจดี
ตอบลบ