วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แผนการสอนวิทยาศาสตร์วันที่ 19 กรกฎาคม 2558

แผนการจัดกระบวนการเรียนรู้
รายวิชา พว21001 วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
เรื่อง สารเพื่อชีวิต
ตัวชี้วัด 1.  อธิบายสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี
2.  อธิบายความแตกต่างและการจำแนกธาตุ สารประกอบ สารละลาย และสารผสม
3.  จำแนกสารโดยใช้เนื้อสารและสถานะเป็นเกณฑ์
มาตรฐานการเรียนรู้
มีความรู้ ความเข้าใจทักษะและเห็นคุณค่าเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและประเทศ สาร แรง พลังงาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกและดาราศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อธิบายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสาร การจำแนก สาร กรด เบส ธาตุ สารประกอบ สารละลายและของผสมและใช้สารและผลิตภัณฑ์ใน ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อชีวิต
ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหาการเรียนรู้
                1. ครูทบทวนเนื้อหาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และงานที่มอบหมาย
                2. ครูเริ่มเข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนา ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเรื่องสารที่เรารู้จักในชีวิตประจำวัน โดยให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำถาม และ  แสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 แสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้
                       ครูแจกใบความรู้  เรื่อง ทางกายภาพและสมบัติทางเคมี ความแตกต่างและการจำแนกธาตุ
 สารประกอบ สารละลาย และสารผสม การจำแนกสารโดยใช้เนื้อสารและสถานะเป็นเกณฑ์
              ขั้นที่  3 การปฏิบัติและการนำไปใช้
1.       ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ให้ช่วยกันศึกษาและวิเคราะห์และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 เนื้อหาดังนี้
กลุ่มที่ 1 ให้ศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี
กลุ่มที่ 2 ให้ศึกษาความแตกต่างและการจำแนกธาตุ สารประกอบ สารละลาย และสารผสม
กลุ่มที่ 3 ให้ศึกษาการจำแนกสารโดยใช้เนื้อสารและสถานะเป็นเกณฑ์
                2. ครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ
                3. ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ
ขั้นที่ การประเมินผลการเรียนรู้
1.       สังเกตจากการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
2.       ผลงาน/ การนำเสนอ
3.       ใบงาน
4.        สมุดกรต.


ใบความรู้
เรื่องที่ 1 สมบัติของสาร และเกณฑ์ในการจำแนกสาร
สมบัติของสารหมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสาร เช่น เนื้อสาร สี กลิ่น รส การนำไฟฟ้า การละลายน้ำ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความเป็นกรดเบส เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
          1.  สมบัติทางกายภาพของสาร เป็นสมบัติของสารที่สามารถสังเกตได้ง่าย เพื่อบอกลักษณะของสารอย่างคร่าว ๆ ได้แก่ สถานะ ความแข็ง ความอ่อน สี กลิ่น ลักษณะผลึก ความหนาแน่นหรือเป็นสมบัติที่อาจตรวจสอบได้โดยทำการทดลองอย่างง่าย ๆ ได้แก่ การละลายน้ำ การหาจุดเดือด การหาจุดหลอมเหลว หรือจุดเยือกแข็ง การนำไฟฟ้า การหาความถ่วงจำเพาะ การหาความร้อนแฝง
          2.  สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ    เป็นต้น
     เกณฑ์ในการจำแนกสาร ในการศึกษาเรื่องสาร จำเป็นต้องแบ่งสารออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำสาร โดยทั่วไปนิยมใช้สมบัติทางกายภาพด้านใดด้านหนึ่งของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสารซึ่งมีหลายเกณฑ์ด้วยกัน ดังนี้
1. ใช้สถานะเป็นเกณฑ์ จะแบ่งสารออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
          1.1 ของแข็ง ( solid ) หมายถึงสารที่มีลักษณะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง และมีรูปร่างเฉพาะตัว เนื่องจากอนุภาคในของแข็งจัดเรียงชิดติดกันและอัดแน่นอย่างมีระเบียบไม่มีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ได้ น้อยมาก ไม่สามารถทะลุผ่านได้และไม่สามารถบีบหรือทำให้เล็กลงได้ เช่น ไม้ หิน เหล็ก ทองคำ ดิน ทราย พลาสติก กระดาษ เป็นต้น
          1.2 ของเหลว ( liquid )หมายถึงสารที่มีลักษณะไหลได้ มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาค ในของเหลวอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง อนุภาคไม่ยึดติดกันจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะใกล้ และมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน มีปริมาตรคงที่ สามารถทะลุผ่านได้ เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมันพืช น้ำมันเบนซิน เป็นต้น
          1.3 แก๊ส ( gas ) หมายถึงสารที่ลักษณะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก มีพลังงานในการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปได้ในทุกทิศทางตลอดเวลา จึงมีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคน้อยมาก สามารถทะลุผ่านได้ง่าย และบีบอัดให้เล็กลงได้ง่าย เช่น อากาศ แก๊สออกซิเจน แก๊สหุงต้ม เป็นต้น
2. ใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
          2.1 โลหะ ( metal) 2.2 อโลหะ ( non-metal ) 2.3 กึ่งโลหะ ( metaliod )
3. ใช้การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
          3.1 สารที่ละลายน้ำ
          3.2 สารที่ไม่ละลายน้ำ
4. ใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
          4.1 สารเนื้อเดียว ( homogeneous substance )
          4.2 สารเนื้อผสม ( heterogeneous substance )





เรื่องที่ 2 สมบัติของธาตุ สารประกอบ สารละลาย สารผสม
          ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว ธาตุไม่สามารถจะนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี ธาตุมีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง เช่น ธาตุสังกะสี(Zn) ตะกั่ว(Pb) เงิน (Ag) และดีบุก (Sn) , เป็นของเหลว เช่น ปรอท (Hg) เป็นก๊าซ เช่น ไนโตรเจน (N2) ฮีเลียม (He) ออกซิเจน (O2) ไฮโดรเจน (H2) เป็นต้น
          สารประกอบ (compound) หมายถึงสารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่เกิดจากธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเป็นองค์ประกอบสารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุโดยวิธีการทางเคมี สามารถแยกสลายให้เกิดเป็นสารใหม่หรือกลับคืนเป็นธาตุเดิมได้ สารประกอบจะมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างจากธาตุเดิม เช่น น้ำ มีสูตรเคมีเป็น H2O น้ำเป็นสารประกอบที่เกิดจากธาตุไฮโดรเจน(H) และออกซิเจน (O) แต่มีสมบัติแตกต่างจากไฮโดรเจนและออกซิเจน น้ำตาลทรายประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ( C ),ไฮโดรเจน (H) ,และออกซิเจน (O) เป็นต้น
          สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน
          สารผสม หมายถึง สารที่มีองค์ประกอบภายในแตกต่างกัน หรือสารที่เนื้อไม่เหมือนกันทุกส่วน เช่น พริกเกลือ คอนกรีต ดินหรืออาจเป็นสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปผสมกันอยู่ โดยที่สารเหล่านี้ยังมีสมบัติเหมือนเดิมและสามารถแยกออกจากกันได้โดยวิธีง่ายๆ




















แบบทดสอบ
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่คิดว่าถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวในแต่ละข้อ
1) ข้อใดไม่ใช่สสาร
. เกลือแกงใส่ลงในอาหาร
. เสียงของสุนัขหอน
. น้ำแกงกำลังเดือด
. สายไฟที่ทำจากพลาสติก
2) ทองเหลืองจัดเป็นสารประเภทใด
. ธาตุ
. สารประกอบ
. สารละลาย
. สารเนื้อผสม
3) ข้อใดต่อไปนี้เป็นความหมายของสารประกอบ
. โมเลกุลของสารประกอบด้วยธาตุ 2 อะตอมขึ้นไป
. สารที่ธาตุเป็นชนิดเดียวกัน
. สารที่เกิดจากธาตุ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน
. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยากันของสาร 2 ชนิด
4) ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
. สารละลายทุกชนิดเป็นสารบริสุทธิ์
. สารบริสุทธิ์บางชนิดเป็นสารเนื้อเดียว
. สารประกอบทุกชนิดเป็นสารเนื้อเดียว
. ธาตุบางชนิดเป็นสารเนื้อเดียว
5) ถ้าจัด เหล็ก น้ำเชื่อม และสารละลายกรดซัลฟิวริก ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จะต้อง ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจัด
. การนำไฟฟ้า
. การละลาย
. การเป็นสารเนื้อเดียวกัน
. สมบัติเป็นกรด-เบส

เฉลยแบบทดสอบ
1.    2.    3.    4.    5.



แบบฝึกหัดวิชาวิทยาศาสตร์ (พว21001) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
วันที่ 19 กรกฎาคม 2558
กศน.ตำบลต้นธงชัย
ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
1.บอกสมบัติทางกายภาพของสารมา 5 ข้อ
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสาร แบ่งได้เป็นกี่อย่าง พร้อมยกตัวอย่างๆ ละ 2 ชนิด
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3.ถ้าใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนกแล้ว
ทองแดง เป็น ...................................                   ดีบุก เป็น.....................................
ทองคำขาว เป็น ...................................                น้ำ เป็น ........................................
นาก เป็น ...................................             น้ำตาลทรายเป็น ........................................
คลอรีน เป็น ...................................          เกลือแกง เป็น ........................................
ดินเหนียว เป็น ....................................                ลูกเหม็น เป็น ........................................
4.ถ้าใช้ธาตุ สารประกอบ สารละลาย เป็นเกณฑ์ในการจำแนกแล้ว
ทองแดง เป็น ..........................................              น้ำเชื่อม เป็น..................................................
เหรียญบาท เป็น ..........................................            น้ำปลา เป็น.................................................
             ยาน้ำเดือด เป็น .........................................  เหล้า เป็น..................................................
5. ยกตัวอย่างโลหะ อโลหะ และโลหะกึ่งอโลหะ มา 1 อย่าง พร้อมเหตุผล
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
6. บอกประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสีมา พร้อมยกตัวอย่างมา 2 ข้อ
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
7. สารละลายมีกี่สถานะ อะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..........................……………………..............................

มอบหมายงานกรต. นักศึกษานำความรู้ในเรื่องของสารไปใช้ในชีวิตอย่างไรให้เข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย 15 บรรทัด พร้อมตกแต่งให้สวยงาม

2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากคะ ให้บันทึกปัญหาในการจัดการเรียนการสอนด้วยค่ะจะได้มีหัวข้อวิจัยในชั้นเรียน

    ตอบลบ
  2. ดีมากคะ ให้บันทึกปัญหาในการจัดการเรียนการสอนด้วยค่ะจะได้มีหัวข้อวิจัยในชั้นเรียน

    ตอบลบ